Credit By : ~*N@DT'41*~
~ ขนมขี้หนู ~
ส่วนผสม
• แป้งข้าวเจ้าอย่างดี 4 ถ้วย
• น้ำลอยดอกมะลิ 6+1/2 ถ้วย(6 ถ้วยครึ่ง)
• น้ำตาลทรายขาว 5 ถ้วย
• มะพร้าวทึนทึก 1 ซีก
• เกลือป่น
• (สีผสมอาหารหรือใช้น้ำตาลมะพร้าวแทนน้ำตาลทรายขาวเป็นสีน้ำตาลอ่อนๆ หรือใช้ใบเตยแทนสีเขียวอ่อนก็ได้ แต่สำหรับขี้หนู นิยมสีชมพู สีเขียวอ่อนๆ และสีน้ำตาลมะพร้าว หรือสีขาวล้วนของน้ำตาลทรายขาว)
วิธีทำ
1. ผสมน้ำตาลทรายกับน้ำลอยดอกมะลิอย่างละ 5 ถ้วย ตั้งไปพอเดือดยกลงกรองทิ้งไว้ให้เย็น
2. ใส่น้ำลอยดอกมะลิ 1 + 1/2 ถ้วย (1 ถ้วยครึ่ง) ใส่แป้งทีละน้อย แล้วนวดแป้งจนแป้งอิ่มน้ำดีแล้ว (ถ้าเป็นแป้งใหม่น้ำอาจจะไม่ใช้ถึง 1 + 1/2 อาจเป็น 1 + 1/4 ถ้วยก็ได้) เสร็จแล้วจึงนำไปร่อนด้วยที่ร่อนแป้งชนิดละเอียดแบบทองเหลือง โดยกดให้แป้งผ่านที่ร่อนลงในลังถึงซึ่งรองด้วยผ้าขาวบางไว้แล้ว นำไปนึ่งในน้ำเดือดพล่านไฟแรง (น้ำค่อนลังถึง) ประมาณ 45 นาที หรือจนแป้งสุกคอยดูน้ำอย่าให้แห้ง
3. ตักแป้งขณะร้อนๆครั้งละ 1 ทัพพีใหญ่ จุ่มในน้ำเชื่อมที่ผสมสีตามต้องการ พอแป้งดูดน้ำเชื่อมจนอิ่มตัวดี นำไปวางลงบนถาด ทำเช่นนี้จนหมดแป้ง
4. ทิ้งแป้งไว้สัก 10 นาที หรือจนแป้งดูดน้ำเชื่อมแห้งหมด ใช้ส้อมขยี้แป้งแต่เบาๆมือ จนแป้งกระจายเนื้อละเอียดฟูจึงอบด้วยมะลิ กระดังงาไทยลนไฟ เทียนอบไว้ 1 คืน รับประทานกับมะพร้าวทึนทึกขูดใส่เกลือพอเค็มอ่อนๆ
ลักษณะที่ดี
1. รสหวาน หอมน้ำตาลมะพร้าว
2. เนื้อขนมนุ่มเป็นปุย สีน้ำตาล
เคล็ดที่ไม่ลับ
1. การผสมแป้งกับน้ำลอยดอกมะลิ อย่านวดแบบขนมปัง ให้ใช้มือยีแบนๆ เพราะถ้านวดแล้วแป้งจะเกาะกันเป็นก้อน
2. ถ้าใส่น้ำเร็วไปจะทำให้แป้งแฉะ
3. ลักษณะของแป้งที่จะยีในตะแกรงจะต้องไม่เป็นก้อน มีแต่ความชื้นจะทำให้ยีได้ง่าย
4. การยีจะต้องเลื่อนตะแกรงไปรอบๆ อย่าให้แป้งทับกันหนา การที่วางแก้วตรงกลางเพื่อจะให้ไอน้ำขึ้นถึง ก่อนนึ่งเอาแก้วออกจะเว้นที่ตรงกลางไว้
5. ถ้าจะใช้น้ำตาลทรายทำน้ำเชื่อมควรใช้น้ำตาล 1 + 1/2 ถ้วย (1 ถ้วยครึ่ง) แล้วใส่สีตามชอบ
6. เมื่อแป้งสุกต้องรีบเทลงในน้ำเชื่อมโดยเร็ว ถ้าช้าจะทำให้ไอน้ำร้อนหมด ขนมไม่ฟู
7. การที่เคี่ยวน้ำเชื่อมแล้วให้ตวงเพื่อที่จะได้น้ำเชื่อมเท่าอัตราส่วนที่กำหนด เพราะถ้าไม่ตวงบางคนเคี่ยวใสไปทำให้ปริมาณน้ำเชื่อมมากจะทำให้ขนมแฉะ ถ้าข้นไปขนมดูดน้ำเชื่อมไม่ทั่วถึง
8. ถ้าทำออกมาไม่ฟูแสดงว่า
• นึ่งแป้งไม่สุก
• แป้งใหม่ ถ้าไม่แน่ใจว่าแป้งใหม่หรือเก่าให้ตากแดด 2 - 3 แดด แต่ถ้าซื้อแป้งระยะเดือน ต.ค. - พ.ย. จะได้แป้งเก่า
• น้ำเชื่อมมากไป
อาหาร
2 ความคิดเห็น:
ตอนป้าเป็นเด็กอยู่ที่ จ.น่าน มีอยู่เจ้าเดียว ขายห่อ(ใบตอง)ห่อละสลึง ซื้อทานก่อนไปโรงเรียน ทานไม่เคยเบื่อ แต่มีสีน้ำตาลน่าจะเป็นน้ำอ้อย ที่ใส่แทนน้ำเชื่อม แถวน่านเรียกขนมขี้เลื่อย น่าทานมาก จะมีเสน่ห์(กลิ่น/สี/รส)ของน้ำอ้อย แต่เขานึ่งในไหไม้ที่ทำจากลำต้นมะพร้าว ขายวันละไหคือเวลาขายก็คว่ำไหลง แล้วแซะให้ปุยในใบตองที่ใช้ห่อ โรยด้วยมะพร้าวขูดเค็มนิดๆถ้าไปไม่ทัน(คิวยาว)ก็อดทานล่ะ(น้ำอ้อยจะเ็ป็นผลึกก้อนวิธีทำคล้ายน้ำตาลโตนด,ทางเหนือใช้ทำน้ำปลาหวานจิ้มกับมะม่วง)อยากนำเสนอให้ท่านผู้ชำนาญการขนมลองปรับสูตรใช้น้ำอ้อยแทน,สมัยก่อนยังไม่มีการอบรมเทียนนะคะแต่มันหอมน่ะ ถ้าได้สูตรนี้กรุณาลงเพิ่มเพื่อเป็นวิทยาทาน คนตกงานจะมีเงินใช้จ่าย ทำบุญกุศลได้อีกทางนึงค่ะ รอป้าเกษียณจะหัดทำขายให้ลูกหลานอย่าลืมช่วยอุดหนุนนะคะก่อน
ป้าฝน คนอยู่ลำปาง
อ่านวิธีทำแล้วงงๆ รบกวนขอถามหน่อยคับ
วิธีทำข้อ 1 "ผสมน้ำตาลทรายกับน้ำลอยดอกมะลิอย่างละ 5 ถ้วย ตั้งไปพอเดือดยกลงกรองทิ้งไว้ให้เย็น" ตกลงไม่ต้องเคี่ยวใช่ป่ะคับ?
วิธีทำข้อ 1 กะ เคล็ดที่ไม่ลับข้อ 5 แล้วงง X 2 ตกลงว่า ถ้าใช้น้ำตาลทรายทำน้ำเชื่อมต้องตวงน้ำเชื่อมมาผสมแต่ละสีเท่าไหร่ต่อขนมขี้หนูที่เพิ่งนึ่งสุกเท่าไหร่คับ?
ขอบคุณมากคับ ^^
นิ๊งหน่อง
แสดงความคิดเห็น